เทนนิสรายการ French Open เป็นหนึ่งในสี่รายการแกรนด์สแลมของโลก ซึ่งประกอบไปด้วย Australian Open, French Open, Wimbledon และ US Open (เรียงลำดับตามช่วงเวลาที่จัดการแข่งขัน) โดยรายการ French Open จัดการแข่งขันในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูร้อนของยุโรป
สนามจัดการแข่งขัน
สนามที่ใช้จัดการแข่งขัน French Open มีชื่อว่า Roland Garros อยู่ที่กรุงปารีส (บางครั้งจึงเรียกรายการนี้ว่าเทนนิส Roland Garros) คอร์ทแข่งขันเป็นพื้นผิวดิน (clay court) สาเหตุที่ผมเลือกไปชม French Open เป็นแกรนด์สแลมแรกก็เพราะหลงไหลสเน่ห์ของ clay court ที่ดูดิบๆดี (เหมือนเล่นกันบนดินลูกรัง)
คอร์ท Suzanne Lenglen (ซูซาน ล็องลอง) และ
คอร์ทหมายเลขหนึ่ง
ส่วนกราวด์คอร์ทเป็นคอร์ทที่มีอัฒจรรย์ขนาดย่อมอาจไม่ครบสี่ด้านไม่มีการกำหนดหมายเลขที่นั่ง ผู้เข้าชมสามารถเลือกที่นั่งได้อิสระ กราวด์คอร์ทได้แก่คอร์ทหมายเลขสองถึงหมายเลขสิบแปด มือวางอันดับสูงๆหรือนักเทนนิสประเทศเจ้าภาพจะถูกจัดให้เล่นคอร์ทสเตเดี้ยม ส่วนกราวด์คอร์ทจะใช้จัดการแข่งขันคู่มือวางอันดับรองๆหน่อย รวมทั้งการแข่งขันประเภทคู่ในรอบแรกๆ และการแข่งขันระดับเยาวชน
สามารถเดินทางไปสนาม Roland Garros ได้โดยรถไฟฟ้า Metro ลงที่สถานี Porte de’Auteuil (สาย 10) หรือสถานี Michel-Ange-Molitor (สาย 9 หรือ 10)
ตั๋วชมการแข่งขัน
ตั๋วชมการแข่งขันเทนนิส French Open มีสองประเภทใหญ่ๆได้แก่ตั๋วคอร์ทโชว์ กับตั๋วคอร์ทด้านนอก ในรอบแรกๆคอร์ทโชว์ก็หมายถึงคอร์ทสเตเดี้ยม ส่วนคอร์ทด้านนอกก็คือกราวด์คอร์ท แต่พอผ่านไปรอบลึกๆคอร์ท Suzanne Lenglen กับคอร์ทหมายเลขหนึ่งจะถูกปรับเป็นคอร์ทด้านนอกแทน ส่วนคอร์ท Phillipe Chatrier ถูกใช้เป็นคอร์ทโชว์จนถึงรอบชิงชนะเลิศในวันสุดท้าย
ผู้ชมที่ถือตั๋วคอร์ทโชว์คอร์ทใดคอร์ทหนึ่ง สามารถเข้าชมการแข่งขันในคอร์ทนั้นๆได้ซึ่งเป็นตั๋วที่กำหนดเลขที่นั่ง แถมยังสามารถเข้าชมการแข่งขันในคอร์ทด้านนอกคอร์ทใดก็ได้ (แต่ต้องไปหาที่นั่งว่างเอง) แต่ตั๋วคอร์ทโชว์คอร์ทหนึ่งไม่สามารถเข้าชมการแข่งขันในคอร์ทโชว์อื่นๆได้ อาทิเช่นผู้ถือตั๋วคอร์ท Phillipe Chatrier ไม่สามารถเข้าชมคอร์ท Suzanne Lenglen หรือคอร์ทหมายเลขหนึ่งได้ (ในกรณีที่สองคอร์ทที่ว่ายังเป็นคอร์ทโชว์อยู่)
ส่วนตั๋วคอร์ทด้านนอกเข้าชมได้เฉพาะคอร์ทที่ไม่ใช่คอร์ทโชว์แต่ต้องหาที่นั่งว่างเอง (ไม่มีหมายเลขที่นั่งกำหนดให้)
รายการ French Open มีแข่งรอบเช้าเพียงรอบเดียว รอบแรกๆจะเริ่มประมาณ 11 โมงเช้าจบประมาณ 5-6 โมงเย็น พอรอบลึกๆจะเริ่มประมาณบ่ายสองบ่ายสาม ฝ่ายจัดการแข่งขันมีตั๋วโลว์คอสท์สำหรับเข้าชมการแข่งขันหลังห้าโมงเย็นซึ่งราคาถูกมากๆ (แต่คงไม่ได้ดูเกินคู่หนึ่ง หรือโชคร้ายอาจไม่ได้ดูเลย)
ตอนที่ผมไปดูในปี 2007 สมาคมเทนนิสฝรั่งเศสขายตั๋วเองโดยตรง ระบบการขายตั๋วก็คือให้ผู้ซื้อแจ้งไปว่าจะขอซื้อตั๋วคอร์ทไหนวันไหนภายในระยะเวลาที่เปิดให้ยื่นขอ หลังจากปิดการยื่นขอซื้อแล้วถ้ายอดขอซื้อคอร์ทไหนวันไหนไม่เกินกว่าจำนวนตั๋วที่ขาย ผู้ขอซื้อก็จะได้ตั๋วทันที แต่ถ้าเกินก็จะทำการจับสลาก ในกรณีเราระบุว่ายอมรับตั๋วคอร์ทโชว์อื่นในวันเดียวกันได้ ถ้าจับสลากตั๋วคอร์ทที่ขอซื้อไม่ได้และมีตั๋วคอร์ทโชว์อื่นเหลือ เขาก็จะจัดสรรตั๋วคอร์ทอื่นให้ ของผมไม่ได้ตั๋วคอร์ทที่ขอซื้อแต่ได้ตั๋วคอร์ทหมายเลขหนึ่งแทน
ปัจจุบันสมาคมเทนนิสฝรั่งเศส outsource การขายตั๋วให้องค์กรอื่นรับผิดชอบไป โดยเป็นระบบซื้อตั๋วทางออนไลน์มาก่อนได้ก่อน แต่จำกัดจำนวนตั๋วที่สามารถซื้อได้ต่อคน
ช้อมูลการแข่งขันและตั๋วเข้าชม สามารถเข้าไปเช็คได้ที่
การแข่งขัน
ตั๋วที่ผมได้เป็นของวันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2007 ซึ่งวันนั้นคอร์ทหมายเลขหนึ่งใช้จัดการแข่งขันประเภทหญิงเดี่ยวรอบ 16 คนสุดท้ายจำนวนสี่คู่
ใจจริงแล้วผมอยากดู Maria Sharapova นักเทนนิสหญิงขวัญใจของผมแข่ง แต่ตามโปรแกรมเธอจะเล่นเป็นคู่สุดท้ายที่คอร์ท Suzanne Lenglen เลยต้องแห้วไป
คู่แรกที่แข่งขันที่คอร์ทหมายเลขหนึ่งเป็นการพบกันระหว่าง Nicole Vaidisova (เช็ก-มือวางอันดับ 6 เสื้อสีส้ม) กับ Tathiana Garbin (อิตาลี-มือวางอันดับ 19 เสื้อสีฟ้า) ซึ่ง Nicole นักเทนนิสสาวหุ่นนางแบบชนะไปง่ายดาย 6-3 และ 6-1
คู่ที่สองระหว่าง Svetlana Kuznetsova (รัสเซีย-มือวางอันดับ 3 เสื้อสีม่วง) กับ Shahar Pe’er (อิสราเอล-มือวางอันดับ 15 เสื้อสีฟ้าอ่อน) จบเกมมือวางอันดับสามจากรัสเซียชนะไปตามฟอร์ม 6-4 และ 6-3
คู่สุดท้าย Anna Chakvetadze (รัสเซีย-มือวางอันดับ 9 เสื้อสีชมพู) เจอกับ Lucie Safarova (เช็ก-มือวางอันดับ 25 เสื้อสีกรมท่า) คู่นี้เล่นกันสามเซ็ทก่อนที่ Anna จะชนะไป 6-4, 0-6 และ 6-2 แต่ผมไม่ได้ดูจนจบ เพราะออกมารอดู Maria Sharapova แข่งผ่านการถ่ายทอดทางทีวีจอยักษ์ด้านนอก
สังเกตุว่าคนดูฝรั่งเศสน่าจะเชียร์แพ็ทตี้มากกว่า ไม่รู้ว่าเพราะมาจากประเทศเพื่อนบ้านเรือนเคียงหรือชอบเชียร์มวยรองกันแน่ ในเซ็ทที่สามต้องเล่นกันยาวถึง 16 เกม ก่อนที่สุดท้าย Maria ชนะไป 3-6, 6-4 และ 9-7 จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง(ของผม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น